วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีใหม่ๆ ของโปรเจคเตอร์

เทคโนโลยีใหม่ๆ ของโปรเจคเตอร์  11/10/2555

LCD Projector



LCD (liquid crystal display) เป็นเทคโนโลยีของโปรเจคเตอร์ที่มีการบรรจุแผ่น LCD จำนวน 3 แผ่นไว้ในตัวเครื่องเพื่อใช้ในการสร้างภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนแม่สี 3 สี โดยจะมีสีแดง เขียว และน้ำเงิน โดยแสงจะวิ่งผ่านพาเนล LCD นี้ ซึ่งจะเป็นตัวที่เปิดหรือปิดการทำงานของพิกเซลในแต่ละเม็ดสี และเมื่อสร้างภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะส่งออกไปยังเครื่องและฉายต่อไป
  • Air Shot - Sony จากค่ายโซนี่ Air Shot เป็นเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ กับ LCD Projector สร้างความสะดวกให้อย่างมากในการใช้งาน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องต่อสายเข้ากับ LCD Projector อย่างไรก็ตาม อาจมีปัญหาในเรื่องของความล่าช้าล้างเล็กน้อย
  • ปิดเครื่องทันที หลังใช้งาน โดยปกติแล้วการใช้งาน LCD Projector จะเกิดความร้อนอย่างมากกับหลอดภาพ และห้ามปิดเครื่องทันทีหลังการใช้งาน เพราะจะทำให้หลอดภาพเสียได้ ราคาหลอดภาพก็ค่อนข้างแพงเอามากๆ  ทาง Sony ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงได้มีการพัฒนา LCD Projector รุ่นใหม่ๆ ของ Sony ให้สามารถปิดเครื่องได้ทันทีหลังเลิกใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
  • Remote Mouse เป็นคุณสมบัติในการช่วยในการควบคุมการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ wireless โดยแทนที่จะกดผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยตรง ก็สามารถกดผ่าน Mouse ที่เป็น remote แทน - LCD Projector หลายๆ ยี่ห้อมักมีคุณสมบัตินี้
  • Keystone correction เป็นคุณสมบัติในการแก้ไขปัญหาของการแสดงภาพบนจอ ที่มีลักษณะเอียง ซึ่งจะช่วยให้ภาพที่แสดงบนจอภาพมีลักษณะเป็นแนวตรงกับจอ ดูง่าย ชัดเจนมากยิ่งขึ้น - LCD Projector หลายๆ ยี่ห้อมักมีคุณสมบัตินี้

ข้อดีของระบบ LCD : ให้กำลังแสงได้ดีกว่าระบบ DLP เมื่อเทียบในกำลังวัตต์ที่เท่ากัน มีความคมชัดของสีที่ชัดกว่า DLP จากความคมชัดของสัญญาณในการใช้งานกับ 1000 lumen LCD กับ 1200 lumen DLP นั้นตัว LCD จะมีความน่าเชื่อถือในการใช้งานมากกว่า LCD ให้ความคมชัดของภาพที่ดีกว่า แต่อาจจะมีผลต่อภาพบางในเรื่องของวิดีโอ 
ข้อด้อยของระบบ LCD : เกิดเอฟเฟ็กต์ Chicken wire ซึ่งเป็นผลทำให้ภาพออกไม่สวย อุปกรณ์ต่างๆ จะมีขนาดใหญ่เกิดปัญหาในเรื่องของ Dead Pixels ทั้งแบบถาวรและไม่ถาวรได้ และจะส่งผลต่อการแสดงภาพ ตัวจอ LCD สามารถเสียหายได้และมีราคาที่แพงมากกว่า DLP

PROJECTOR DLP 




หลักการทำงาน
DLP ย่อมาจาก (Digital Light Processing) เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Texas Instrument ซึ่งพัฒนาDMD SHIP (DIGITAL MICRO MIRRORS DEVICE) ซึ่งเป็นแนววงจรขนาดเล็กประกอบด้วย แผ่นกระจกสะท้อนแสงขนาดจิ๋วจำนวนมากโดยแต่ละชิ้นของกระจกขนาดจิ๋ว จะแทนจุดแสงในแต่ละ PIXEL ถ้ารายละเอียดขนาด XVGA จะมีแผ่นกระจกตามแนวนอน 1024 ชิ้น ตามแนวตั้ง 768 ชิ้น กระจกแต่ละชิ้นจะถูกวงจรไฟฟ้าควบคุมให้เอียงไปมา เพื่อสะท้อนแสงได้ที่มุม +/- 10 องศา เพื่อหันเหแสงไปที่จอภาพ หรือให้ตกระทบในตัวเครื่อง การทำงานของกระจกจิ๋วนี้เทียบได้กับหลักการทำงานของดิจิตอล คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าเปรียบได้กับสภาวะ ON กระจกจิ๋วของ PIXEL นั้นๆ จะเอียงเพื่อรับแสง และสะท้อนแสงไปตกกระทบจอภาพผ่านเลนส์ แต่ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า เปรียบได้สภาวะ OFF กระจกจิ๋วจะหันคืนกลับมาในอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งจะสะท้อนแสงที่ไม่ต้องการ ไปตกกระทบกับผิวของวัสดุดูดซึมแสง (ABSORBER) ภายในเครื่องก่อให้เกิดส่วนมืดจอภาพ ตำแหน่ง PIXEL นั้นๆ

การเกิดภาพในระบบ DLP นั้น ใช้หลักการที่แสงจะวิ่งผ่านแผ่นจานแม่สี (COLOR WHEEL) และแสงที่ผ่านจานแม่สี (แดง ,เขียว น้ำเงิน) แต่ละสีจะวิ่งผ่านไปที่กระจกจิ๋วในแผ่น DMD โดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่กระจกจิ๋วก็จะสะท้อนแสงแม่สีไฟที่จอภาพ เพื่อผสมสีให้เกิดภาพ จะมีวงจรควบคุมให้แผ่นจานสี (COLOR WHEEL) หมุนได้จังหวะกับ การพลิกเอียงมุมของกระจกจิ๋วในแผ่น DMD DLP PROJECTOR ให้ค่าความสว่างสูง ความคมชัดของภาพ โดยมี CONTRAST RATIO ที่สูง ค่าBLACK LEVEL ที่ดีทำให้สีดำสนิท และการเกลี่ยแสง (UNIFORMITY) ที่ดีมากเหมาะสำหรับงาน PRESENTATION ข้อมูลจาก COMPUTOR ที่ต้องการความคมชัดมาก






ข้อดีของระบบ DLP : มีจุด pixel ที่ละเอียด เนื่องจากระยะของตัวชิปนั้นอยู่ใกล้ชิดกันทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียด มีความคมชัด (contrast) สูง และอุปกรณ์ที่ใช้งานก็มีขนาดเล็กกว่าและใช้น้อยชิ้นด้วย นอกจากนี้อายุในการใช้งานก็ยาวนานกว่าระบบ LCD
ข้อด้อยของระบบ DLP : ความอิ่มหรือความชุ่มฉ่ำของสีจะด้อยกว่า LCD อาจทำให้มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า rainbow effect ซึ่งเป็นอาการที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วขณะ เนื่องจากการบิดตัวของกระจกที่ฉายภาพผ่านวงล้อสีจะทำให้เกิดภาพที่เป็นสีรุ้งออกมาให้เห็น ซึ่งอาจจะเห็นเป็นบางคน บางคนก็ไม่เห็น สำหรับปรากฏการณ์ halo effect นี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกเครื่อง และจะเป็นมากเมื่อมีการใช้งานแบบ home cinema ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นสีเทารอบๆ ภาพ เนื่องจากการกระจายตัวของแสงเล็กๆ ตามกระจกไปยังตัวชิป แต่ปรากกฎการณ์ halo effect ก็เริ่มลดน้อยลงในโปรเจคเตอร์ DLP รุ่นใหม่ๆ ที่มีการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว


LCOS Projector
LCoS

          Liquid crystal on silicon (LCOS หรือ LCoS) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นจาก LCD และ DLP ผสมกัน หรืออาจจะเรียกว่า เทคโนโลยี micro-projection หรือ micro-display ก็ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีนี้จะใช้ในพวกโปรเจคชันทีวี โดยมีเทคโนโลยีในการแสดงผลของภาพแบบ DLP แต่มีการใช้งาน LCD แทนกระจก
LCOS นั้นจะให้ความละเอียดของภาพสูงเนื่องจากใช้เทคโนโลยีทางซิลิกอนที่สูงกว่า LCD
สำหรับ LCOS นั้นทาง Intel ได้ประกาศออกมาในงาน CES ปี 2004 เพื่อใช้งานกับจอภาพขนาดใหญ่แต่มีราคาแพงจึงได้ถูกยกเลิกไป แต่ทางโซนี่ได้ทำขึ้นมาออกสูงตลาดช่วงเดือนธันวาคมปี 2005 โดยออกมาพร้อมกับรุ่น Sony-VPL-VW100 หรือ “Ruby” ที่เป็นเครื่องโปรเจคเตอร์พร้อมกับเทคโนโลยี SXRD (Silicon X-tal Reflective Display) ด้วยชิป 3 LCoS แต่ละชิปให้การแสดงผลที่ความละเอียด 1080p (1,920 X 1,080) และให้ความคมชัด (contrast) สูงถึง 15,000 ยังมาพร้อมกับ dynamic lens ด้วย
LCOS Projector ได้รับการพัฒนามากขึ้น เพื่อนำมาใช้งานในหลายรูปแบบ ซึ่งมีผู้ผลิตชั้นนำของโลกหลายรายที่ได้สนับสนุนเทคโนโลยีนี้นี้ และทยอยส่งผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็น Sony SXRD เอง
             นอกจากนี้ก็ยังมีรายอื่นๆ ด้วย เช่น Syntax-Brillian ก็มีผลิตภัณฑ์ Gen II LCoS ออกมา ส่วนทาง JVC ก็มี D-ILA (Digital Direct Drive Image Light Amplifier) และ MicroDisplay Corporation ก็มี Liquid Fidelity เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น